ทำความรู้จักจิตวิทยาสี : สีส่งผลกระทบอย่างไรกับแบรนด์
3 กุมภาพันธ์ 2564

 

จิตวิทยาของสีส่งผลต่อแบรนด์อย่างไร?

 

 

     “สี” เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญในการช่วยเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์แฟชั่นที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือแบรนด์ที่เกี่ยวกับเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เพื่อเพิ่มความไว้วางใจของลูกค้าสิ่งเหล่านี้สามารถใช้ "สี" โดยศึกษาจากความหมายต่างๆของสีเพื่อช่วยดึงดูดและเชื่อมโยงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดีมากขึ้น

 

หากเพื่อนๆคนไหนไม่ชอบอ่านบทความยาวๆ แอดมีแบบเป็นเวอร์ชั่นของ Podcast ด้วยนะคะ

สามารถกดไปฟังกันได้ที่

 

 

  ถึงแม้ว่าการรับรู้เกี่ยวกับสีของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไปโดยอาจจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกส่วนตัวและรากฐานที่มาจากประสบการณ์หรือวัฒนธรรมของแต่ละคนแต่ละเชื้อชาติ แต่กล่าวได้ว่าความหมายของสีนั้นก็มีความหมายที่เป็นสากลด้วยเช่นกัน “จิตวิทยาของสี” นั้นสามารถใช้เพื่อช่วยเสริมสร้างแบรนด์ให้มีความน่าเชื่อถือและมั่นคงได้ แต่จะทำได้อย่างไร?และความหมายสากลของแต่ละสีนั้นคืออะไรบ้าง? วันนี้แอดจะมาเล่าให้เพื่อนๆได้ฟังกัน

 

 

"Colors, like features, follow the changes of the emotions,"
- Pablo Picasso -
 
“Colors are the mother tongue of the subconscious.”
- Swiss psychiatrist Carl Jung -

 

 

 

 แล้วจริงๆจิตวิทยาสีคืออะไร?                                                          

 

     จิตวิทยาสี เป็นการศึกษาเรื่องสีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อพิจารณาว่าสีส่งผลอย่างไรบ้างต่อการตัดสินใจของคนเราในชีวิตประจำวัน อาธิเช่น สีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือไม่,สีของชุดหรือสีของแพ็กเกจต่างๆที่เราเห็นนั้นมีผลต่อการตัดสินใจของเราหรือไม่? สีของปุ่มกดต่างๆที่แสดงผลมีผลต่อการคลิกของเราหรือไม่? ซึ่งคำตอบนั้นเพื่อนๆคงรู้อยู่แล้วว่า สี มีผลต่อการตัดสินใจของเราๆไม่มากก็น้อยในทางใดทางหนึ่งเสมอ

 

ภาพจาก oberlo.com

 

 

 ทำไมจิตวิทยาของสีถึงสำคัญ?                                                         

 

     กล่าวได้ว่าการเลือกใช้สีได้เหมาะสมสำหรับการทำการตลาดนั้นอาจส่งผลให้แบรนด์ของเราดูโดดเด่นขึ้นมาจากแบรนด์อื่นๆ และสามารถทำให้ผู้รับสารนั้นได้รับข้อความหรือสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อได้ชัดเจนและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้นเหล่านี้คือเหตุผลที่สำคัญมากๆที่เหล่านักการตลาดทั้งหลายควรศึกษาถึงการใช้จิตวิทยาสีเพื่อมาทำการตลาดให้ตรงจุดที่สามารถสื่อสารความเป็นแบรนด์ออกมาให้ผู้บริโภครับรู้ได้

 

     จากข้างต้นที่ได้กล่าวว่าการเลือกสีได้ถูกต้องและเหมาะสมจะสามารถสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้ ทั้งนี้หากเลือกใช้สีที่ผิดล่ะจะส่งผลอย่างไรต่อแบรนด์บ้าง? การเลือกใช้สีที่ไม่เหมาะสมนั้นอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ อาธิเช่น การเลือกใช้สีที่ไม่เหมาะสมในการทำคอนเทนต์หรือโลโก้อาจส่งผลให้ผู้ชมมีจำนวนในกาคลิกน้อยลงหรือไม่สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้อย่างตรงจุดและที่สำคัญอาจทำให้ผู้ชมที่พบเห็นนั้นไม่สนใจคอนเทนต์หรือโลโก้นั้นๆเลยก็ได้ค่ะ เพราะสีนั้นสามารถสร้างอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมในการรับข้อมูลต่างๆและยังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการช่วยตัดสินใจของผู้คน นี่จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญที่เราควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงความหมายของสีสันต่างๆ

 

 

 เรื่องของจิตวิทยาสีที่น่าสนใจ                                                         

 

 

ภาพจาก webfx.com

     มูลที่น่าสนใจจาก Webfx ได้นำเสนอว่า กว่า 84.7% ของผู้บริโภคที่ระบุว่า “สี” เป็นสาเหตุหลักของการตัดสินใจซื้อสินค้า 93% เลือกซื้อสินค้าจากสิ่งที่ตาเห็น 6% เลือกซื้อสินค้าจากผิวสัมผัส และ 1% เลือกซื้อสินค้าจากเสียงหรือกลิ่น

 

ภาพจาก webfx.com

 

80% ของผู้บริโภคมองว่า “สี” จะช่วยทำให้จดจำแบรนด์ได้ดีขึ้น 

52% ของผู้บริโภคมองว่าจะไม่กลับไปซื้อสินค้าในร้านเดิมหากภาพรวมของร้านนั้นๆดูไม่สวยงาม

 

ภาพจาก webfx.com

 

มีผลการวิจัยด้านการตลาดที่ชี้อีกว่าผู้บริโภคนั้นจะจัดสินใจซื้อสินค้าด้วย “จิตใต้สำนึก” ภายใน 90 วินาทีแรกหลังจากได้ดูสินค้า และอีก 62% และ 90% ของผู้บริโภคนั้นตัดสินใจซื้อสินค้าโดยประเมินจากสีเพียงอย่างเดียว

โฆษณาที่เป็นสีนั้นจะมีความดึงดูดมากขึ้นว่าภาพโฆษณาขวาดำถึง 42% และกล่าวได้ว่าการใช้ “สี” นั้นจะช่วยให้เกิด

  • ความเข้าใจถึง 73% 
  • ความเรียนรู้ 55-68%
  • กระตุ้นให้เกิดการอ่านถึง 40% 

 

 

 มาดูความหมายของสีกัน                                                         

 

  • Red Color Psychology

     สีแดง เป็นสีที่มีความเข้มข้นและสามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี โดยสีแดงนั้นเป็นสีที่จะสื่อได้ถึงความตื่นเต้น, ความหลงใหล, ความอันตรายและพลังงาน หากเราต้องการสร้างความดึงดูดด้วยความน่าตื่นเต้นเราควรจะเลือกใช้สีแดง เพื่อนๆอาจจะเคยเห็นว่ามีการใช้ปุ่ม “ซื้อเลย (Buy now)” หรือใช้สีนี้เป็นแพ็กเกจจิ้งเพื่อเพิ่มความดึงดูดและโดดเด่นเวลาอยู่ในชั้นวาง เป็นต้น

 

     เนื่องจากสีแดงเป็นสีที่มีความอิ่มตัวของสีค่อนข้างสูงดังนั้นการเลือกใช้งานจึงจะต้องมีความระมัดระวังในการเลือกใช้อยู่พอสมควร โดยหากจะใช้สีแดงในเว็บไซต์นั้นควรใช้เฉพาะปุ่มหรือไอคอนต่างๆ ที่ต้องการจะเน้นหรือเป็นสินค้าที่ลดราคาเท่านั้น

 

     สีแดงเป็นสีที่มีแนวโน้มที่สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ดังนั้นจะเห็นว่าแบรนด์ เครื่องดื่มโค้ก (Coca Cola) นั้นใช้สีแดงเป็นหลักและมักจะสื่อถึงความสุขและ activity ต่างๆเพื่อสร้างความตื่นเต้นอยู่เสมอ อีกหนึ่งแบรนด์ที่ใช้สีแดงก็คือ YouTube เนื่องจากต้องการสื่อถึงความตื่นเต้นหรือกระตุ้นให้เกิดการคลิกดูคลิปต่างๆ ดังที่สังเกตุได้ว่ารูปโลโก้นั้นเป็นรูปปุ่มสำหรับคลิกเพื่อเล่นคลิปนั่นเองค่ะ

 

ภาพจาก coca-cola.com

 

ภาพจาก coca-cola.com

 

สีที่ต่างออกไปอย่างสีแดงเข้มนั้น สามารถสื่อได้ถึงความหรูหราได้อีกด้วย

 

 

ภาพจาก pinterest.com

 

 

  • Orange Color Psychology

     สีส้ม เป็นสีที่สื่อได้ถึงความคิดสร้างสรรค์,การผจญภัย,ความกระตือรือร้น,ความสำเร็จ และความสมดุล สีส้มนั้นจะช่วยเพิ่มความรู้สึกสนุกสนานให้กับรูปภาพบนเว็บไซต์ หรือสื่อการตลาดต่างๆ แม้จะมีความดึงดูดแต่จะไม่โดดเด่นเท่ากับสีแดงค่ะ

 

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีส้ม เช่น Nickelodeon เป็นช่องที่นำเสนอสื่อสำหรับเด็กจึงเลือกใช้สีส้มเพื่อสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ กระตือรือร้นและความสนุกสนานขี้เล่นของเด็กๆ นั่นเอง อีกแบรนด์หนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ Shopee แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่มีการใช้สีส้มเป็นโลโก้ รวมทั้งช่องทางสื่อต่างๆ สามารถสื่อได้ถึงความสุข ความสนกสนานในการหาสิ่งของเพื่อช้อปปิ้งไม่ว่าอะไรที่ต้องการ ทุกสิ่งสามารถหาได้จากที่นี่แน่นอน!!

 

ภาพจาก nick.com

 

ภาพจาก whats-on-netflix

 

ภาพจาก shopee

 

ภาพจาก shopee

 

ภาพจาก shopee

 

 

  • Yellow Color Psychology

     สีเหลือง เป็นเป็นสีที่บ่งบอกอารมณ์ได้หลากหลาย เช่น ความสุข,การมองโลกในแง่ดีและฤดูร้อน รวมทั้งเป็นสีที่หมายถึงความต้องการ และความหิว จึงเป็นอีก 1 เหตุผลที่เหล่าธุรกิจอาหารจานด่วนเลือกใช้สีเหลืองในการออกแบบแต่สีเหลืองยังสามารถสื่อได้ถึงการเตือน (warning) หรือการหลอกลวงได้อีกด้วยดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สีเหลือง หากต้องการนำเสนอเกี่ยวกับความมั่นคง และความปลอดภัย เป็นต้น ในขณะที่สีเหลืองในโทนเข้ม หรือสีทองจะให้ความหมายที่หรูหราในขณะที่สีเหลืองอ่อนจะเหมาะกับธุรกิจเชิงพาณิชย์

 

 ภาพจาก designmantic.com

 

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีเหลือง เช่น Ferrari แบรนด์รถสุดหรูที่สื่อถึงความรู้สึกของความสุข ฤดูร้อน และการใช้ชีวิตสุดสบายที่ไร้ความกังวล เป็นต้น และยังมีแบรนด์อาหารสุดฮิตอย่าง McDonald's ที่มีการใช้สีเหลืองและสีแดงในตัวโลโก้ที่เป็นสัญลักษณ์ที่คุ้นตาผู้คนมากมายทั่วโลก สีแดงเป็นตัวกระตุ้นและเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความต้องการในบางอย่างส่วนสีเหลือง มีความสัมพันธ์กับความสุขและเป็นสีที่มองเห็นได้ง่ายที่สุดในเวลากลางวัน ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่ป้ายของ McDonald’s จะโดดเด่นท่ามกลางท้องถนนที่พลุกพล่าน

 

ภาพจาก carlogos.org 

 

ภาพจาก bestdesigns.co 

 

ภาพจาก adsoftheworld.com

 

 

  • Pink Color Psychology

     สีชมพู เป็นสีที่มักจะพบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ของใช้ของผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ความหมายในทางจิตวิทยาของสีชมพูคือ เป็นสีที่สื่อถึงความเป็นผู้หญิง ความสนุกสนาน ความซุกซน วัยสดใสและความรัก จะเห็นได้ว่าบางแบรนด์จะใช้สีชมพูเป็นสีของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะและอีกหลายๆแบรนด์ที่มีการเน้นใช้สีชมพูในโลโก้, เว็บไซต์ และใช้เพื่อเน้นข้อความที่ต้องการจะสื่อ เป็นต้น สีชมพูจะมักจะมีผลต่อความรู้สึกด้านความอ่อนโยน อ่อนเยาว์ อ่อนหวาน มีความนุ่มนวล ความสวยงาม

 

 ภาพจาก designmantic.com

 

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีชมพูที่เรารู้จักและคุ้นตากันนั่นคือ Barbie ตุ๊กตาจำลองรูปคน ส่วนมากมักจะเป็นเด็กผู้หญิง หญิงสาวหรือไม่ก็เป็นเจ้าหญิงนั่นเอง ซึ่งมีการนำสีชมพูมาใช้ทั้งโลโก้และตัวบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นการเสริมความเป็นผู้หญิงของแบรนด์ให้มากขึ้น อีกแบรนด์ที่น่าสนใจที่มีการใช้สีชมพูนั่นคือแบรนด์ Victoria’s Secret แบรนด์ชุดชั้นในสุดเซ็กซี่ที่มีการใช้โลโก้และข้อความการตลาดเป็นสีชมพู อีกทั้งบนเว็บไซต์มีการใช้สีชมพูและสีดำเพื่อเน้นรายละเอียดต่างๆที่แลรนด์ต้องการนำเสนออีกด้วยค่ะ

 

 ภาพจาก barbie.mattel.com

 

ภาพจาก victoriassecret.com

 

ภาพจาก misswhoeveryouare.com

 

 

  • Green Color Psychology

     จิตวิทยาของ สีเขียว จะมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและเรื่องของการเงิน การเจริญเติมโต ความกลมกลืน ความสดชื่น ความอุดมสมบูรณ์ ปลอดภัย การเริ่มต้นใหม่สิ่งใหม่ๆและสุขภาพ เป็นต้นซึ่งสีเขียวก็ยังมีความหมายในเชิงบวก อย่างเช่น ความเอื้ออาทร และความหมายในเชิงลบคือ ความอิจฉา อีกด้วยค่ะ ดังนั้นจึงเหมาะกับบริษัท หรือธุรกิจที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับการเงิน

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีเขียว เช่น ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นสถาบันทางด้านการเงินที่ใช้ทั้งโลโก้ และการนำเสนอต่างๆเป็นสีเขียวทั้งหมดทำให้สีเกิดเป็นภาพจำของแบรนด์ เป็นการใช้สีเพื่อสร้างจุดดึงดูดหรือสร้างตัวตน ทำให้ผู้ที่พบเห็นสามารถคาดเดาหรือนึกถึงแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

 

 

ภาพจาก designmantic.com

 

 

ภาพจาก kasikornbank.com

 

 ภาพจาก brandbuffet.in.th

 

 

  • Blue Color Psychology

     จิตวิทยาของ สีฟ้า เป็นสีที่หมายถึง สันติภาพและความสงบด้วยเหตุนี้สีนี้จึงเป็นของธุรกิจที่จะสร้างแรงบันดาจให้เกิดความไว้วางใจ  ความมั่นคง ความสงบ ความน่าเชื่อถือ ความสามัคคี ความสำเร็จและความภาคภูมิใจ สิ่งเหล่านี้นี่คือเหตุผลที่สถาบันการเงินและภาคสุขภาพใช้ประโยชน์จากสีฟ้า นอกจากนี้สีฟ้าที่เข้มขึ้นเหมาะสำหรับสถาบันการศึกษา สีฟ้าที่อ่อนลงจะเหมาะกับการค้าขายและเรื่องสุขภาพ แต่ทั้งนี้สีฟ้าก็มีความหมายในเชิงลบด้วยเช่นกันนั่นคือ ความรู้สึกหดหู่ ความเศร้า และความเย็นชา เป็นต้น 

 

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีฟ้าที่เราๆรู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นคือ Facebook, Twitter และ Skype ที่ใช้สีฟ้าในการทำการตลาดรวมถึงโลโก้รวมถึงแบรนด์ Walmart ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้สีฟ้าเป็นโลโก้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจรวมทั้งความผ่อนคลาย และแบรนด์ Oral B แบรนด์สุขภาพฟันที่จำหน่ายแปรงสีฟันการดูแลสุขภาพในช่องปาก ที่มักจะใช้สีฟ้าในทางการตลาดต่างๆเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นภาพของความมีคุณภาพที่เชื่อถือได้ และความปลอดภัยของสินค้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

 

ภาพจาก walmart.com

 

ภาพจาก logos-download

 

ภาพจาก oralb.com

 

ภาพจาก Oral-B Thailand

 

 

  • Purple Color Psychology

     จิตวิทยาของ สีม่วง เป็นสีที่สื่อความหมายถึงความหรูหรา ฐานันดรศักดิ์ อำนาจ ศักดิ์ศรี ความมั่นคง มั่งคั่ง และความสง่างาม ความมีเสน่ห์น่าค้นหา เป็นต้นแต่มีข้อแนะนำว่าไม่ควรใช้สีม่วงมากเกินไปเพราะสีม่วงยังมีความหมายถึงความเย่อหยิ่งอวดดี และความทะเยอทะยาน อีกทั้งยังแฝงไว้ด้วยความรู้สึกของการไว้อาลัย ความเศร้าโศก สีม่วงอ่อนจะให้ความรู้สึกความอ่อนไหว โรแมนติก ความคิดสร้างสรรค์  

 

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีม่วงอาธิเช่น การบินไทย ซึ่งใช้มีม่วงเป็น 1 ในสีประจำของแบรนด์และการใช้สีม่วงนี้เนื่องมาจากต้องการสื่อถึงดอกกล้วยไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำของการบินไทยค่ะ และสีม่วงยังสื่อถึงความหรูหรามีระดับและความสะดวกสบายเป็นการสื่อถึงการบริการที่ทางแบรนด์นั้นใช้สำหรับทำการตลาดอีกด้วย อีกแบรนด์ที่ใช้สีม่วงนั่นคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ นั่นเองซึ่งเป็นสถาบันทางการเงินที่มีการสร้างเอกลักษณ์ให้จดจำง่าย สะดุดตา ด้วยการใช้ สีม่วง ซึ่งหมายถึง สีแห่งพลังอำนาจและความสุขุม อีกด้านหนึ่งสื่อว่าเป็นธนาคารที่ก่อกำเนิดโดยพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

 

ภาพจาก designmantic.com

 

ภาพจาก brandage.com

 

ภาพจาก Thai Airways

 

ภาพจาก SCB Thailand

 

 

  • White Color Psychology

     จิตวิทยาของ สีขาว จะมีความหมายที่สื่อถึงแสงสว่าง ความดี ความไร้เดียงสา ความสะอาด ความนอบน้อมและความบริสุทธิ์

 

ข้อควรระวัง ความหมายของสีขาวที่กล่าวข้างต้นคือความหมายในวัฒนธรรมอเมริกาเหนือ บางส่วนของที่อื่นๆสีขาวยังมีความหมายที่ตรงกันข้าม ดังนั้นเราจึงควรคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวโดยอิงตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารไปถึงด้วยนะคะ

 

 ภาพจาก designmantic.com

 

     สีขาว ยังสื่อถึงสถานพยาบาล และการปลอดเชื้อโรคถือว่าเป็นสีสันแห่งความสมบูรณ์แบบ สีขาวสามารถแสดงถึงการเกิด หรือจุดเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จความเท่าเทียมและการแต่งงาน แต่สีขาวยังมีความหมายในเชิงลบด้วยโดยจะสามารถสื่อได้ถึงความว่างเปล่าและเยือกเย็น ความหลุดพ้น ความเบา และความตาย เป็นต้น

 

     แบรนด์ที่ใช้สีขาวในการทำการตลาดนั่นคือ ASOS และ Adidas โดยแบรนด์ ASOS จะใช้สีขาวในตัวโลโก้ พื้นหลัง และส่วนของ header เมื่อพื้นหลังเป็นสีเทาหรือดำ และจะสลับเป็นสีดำเมื่อใช้พื้นหลังต่างๆเป็นสีขาว และในเว็บไซต์ออนไลน์ของแบรนด์ Adidas มีการใช้แถบเมนูเป็นสีดำการใช้โลโก้ที่เป็นสีขาวจะช่วยสร้างคอนทราสต์ และหากใช้พื้นหลังเป็นสีขาวก็จะสลับใช้โลโก้เป็นสีดำเช่นกัน และอีกหลายแบรนด์ที่ใช้สีขาวเป็นสีหลักนั้นจะมีการจับคู๋สีกับสีเทา หรือดำมาใช้อีกด้วย

 

ภาพจาก asos.com

 

ภาพจาก campaignlive.co.uk

 

ภาพจาก adsoftheworld.com

ภาพจาก adsoftheworld.com

 

 

  • Black Color Psychology

     สีดำ เป็นที่นิยมใช้ในร้านค้าปลีก แต่ในทางจิตวิทยาความหมายของสีดำนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความลึกลับ อำนาจ ความสง่างาม ความซับซ้อนและความเป็นทางการ ส่วนความหมายทางแง่ลบนั้นสีดำสามารถสื่อได้ถึง ความเศร้าโศก ความโกรธ ความกลัว ความมืด ความตาย ความชั่วร้าย 

สีดำยังเป็นสียอดนิยมสำหรับการเขียนข้อความต่างๆเนื่องจากเป็นสีที่ทำให้อ่านได้ง่ายและจะเห็นได้ว่าร้านค้าแฟชั่นมากมายใช้สีดำเป็นโลโก้แบรนด์ บางแบรนด์ยังใช้รูปถ่ายแบบขาวดำเพื่อนำเสนอไลฟ์สไตล์ หรือเป็นไอคอนเพื่อสร้างความสอดคล้องของแบรนด์เองด้วยค่ะ

 

  ภาพจาก designmantic.com

 

     แบรนด์ที่ใช้สีดำในการทำการตลาด เช่น Chanel ซึ่งใช้สีดำเป็นโลโก้แบรนด์และยังมีการใช้ภาพสไตล์ขาวดำหลายภาพเพื่อคงภาพลักษณ์ของแบรนด์อยู่เสมอแม้แต่ตัวเว็บไซต์ของแบรนด์เองก็เช่นกัน อีกแบรนด์นึงก็คือแบรนด์ Nike มีการใช้สี ดำ เทาและขาวสำหรับตัวเว็บไซต์ รวมทั้งโลโก้ซึ่งภาพรวมนี้ทำให้เว็บไซต์อ่านง่าย สบายตาและเรียบง่ายค่ะ

 

ภาพจาก behance.net CHANEL, ADVERTISING CAMPAIGN 2020

 

ภาพจาก fashionharp.com

ภาพจาก bragmybag.com

 

ภาพจาก nike.com

ภาพจาก businessinsider.com

 

 

  • Grey Color Meaning

     ความหมายทางจิตวิทยาของ สีเทา นั้นหมายถึงความสมดุล และความเป็นกลางซึ่งที่มีความหมายเช่นนี้นั้นอาจเพราะเนื่องจากสีเทาเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่างการผสมสีขาวและสีดำอย่างเท่าๆกันนั่นเองค่ะ ความหมายในเชิงลบของสีเทานั้นอาจหมายรวมไปถึงการสูญเสีย หรือสภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

    Apple เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ใช้สีเทาเป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์ และตัวเว็บไซต์ก็ยังมีการบาลานซ์ความสมดุลของการใช้สีเทา ขาวและดำอีกด้วยค่ะ

 

ภาพจาก apple.com

 

ภาพจาก /twitter.com/GPHIIC

 

 

  • Brown Color Psychology

     สีน้ำตาล เป็นสีที่มีความธรรมชาติสีของพื้นดิน ไม้และก้อนหิน ซึ่งมีความหมายทางจิตวิทยาที่สื่อถึงความอบอุ่น ความใส่ใจ ความปลอดภัยและความปลอบประโลมส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการใช้สีน้ำตาลสำหรับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและอาหาร สีน้ำตาลสามารถใช้ได้ทั้งโลโก้,ภาพแบนเนอร์ และข้อความต่างๆที่มีการใช้สีขาวเป็นสีพื้นหลัง เป็นต้น 

 

ภาพจาก designmantic.com

 

     ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้สีน้ำตาลเช่น UPS ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินการด้านขนส่งที่ใช้สีน้ำตาลเป็นหนึ่งในโลโก้ รวมทั้งข้อความบนเว็บไซต์และรถขนส่งสินค้า การใช้สีน้ำตาลนี้ทำให้มีความรู้สึกปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีความติดดิน เหมือนความรู้สึกที่ลูกค้าอยากได้จากบริการขนส่ง

 

ภาพจาก ups.com

 

ภาพจาก wired.com

 

 

 จิตวิทยาของสีและความเข้าใจที่ผิด?                                             

 

     แม้ว่าจะมีการศึกษาและวิเคราะห์ในเรื่องจิตวิทยาสีมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังคงมีการถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับผลกระทบที่แท้จริงของสีที่มีต่อจิตวิทยาของมนุษย์สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเมื่อพูดถึงจิตวิทยาของสีนั้นมักจะมีตัวแปรมากมายอาธิเช่น ต่างคนต่างอาจจะมีความเห็นหรือความรู้สึกต่อสีแตกต่างกัน การที่เรารับรู้ถึงความรู้สึกจากสีบางอย่างอาจเกี่ยวข้องกับความชอบส่วนตัว หรือประสบการณ์ในอดีต รวมถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมความแตกต่างทางเพศและอื่น ๆ เป็นต้น

 

ภาพจาก oberlo.com

 

     และเราก็มาถึงตอนสุดท้ายกันแล้วค่ะ หลังจากที่เพื่อนๆได้อ่านหรือฟัง Podcast ประกอบบทความนี้กันมาแล้วคงจะได้รู้เกี่ยวกับเรื่องจิตวิทยาของสีต่างๆกันแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาใช้มันกับการสร้างสรรแบรนด์ธุรกิจของเพื่อนๆกันแล้วค่ะ แต่แอดอยากจะบอกว่าถึงเราจะรู้ความหมายที่เป็นกลางของแต่ละสีแล้วแต่เราก็ไม่จำเป็นจะต้องทำตามกฎเสมอไปนะคะ เหมือนที่แอดเคยพูดว่าเรื่องของสีไม่มีถูกและผิด เรา่สามารถเลือกใช้สีที่ตรงกับข้อความหรือสารที่เราต้องการให้แบรนด์เราเป็นได้เสมอหรือจะเลือกสีที่คิดว่าจะสามารถกระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้เวลาผลิตภัณฑ์ของเราวางอยู่บนชั้นวางก็ได้เช่นกันค่ะ

 

ภาพจาก londonimageinstitute.com

 

กำลังเชื่อมต่อ